วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ความหมายของคุณธรรม


 

ภาพประกอบ

        คุณธรรม คือ คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี
คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อม ประเทศไทยในสมัยปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
 ๑. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
๒. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
๓. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
๔. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
 คุณธรรมตามแนวคิดของอริสโตเติล อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้แนวทางของคุณธรรมหลัก ๆ ไว้ ๔ ประการ คือ
๑. ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
๒. ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง
๓. การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน
๔. ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม
 การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรไม่ดี และปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย การพัฒนาในสิ่งดังกล่าวควรใช้สิ่งโน้มนำให้มีคุณธรรมสูง มีความระลึกได้ว่าอะไรไม่ควร และความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ผู้หวังความสงบสุขความเจริญและความมั่นคงแก่ตนเองและประเทศชาติ ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม คุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบุคลากรที่พึงประสงค์ขององค์การ องค์การควรให้การส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงให้บุคลากรขององค์การสนใจคุณธรรมและพร้อมปฏิบัติกับชีวิตการทำงานของตนเอง
     ความหมายของจริยธรรม  


          มีผู้ให้ความของคำว่า  “  จริยธรรม  ”   ไว้ดังต่อไปนี้

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ( 2546 )  ให้ความหมายของ    จริยธรรม ”   ไว้ว่า  หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ

          พระมหาอดิศร   ถิรสีโล  ( 2540 )   ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า  หมายถึงคุณธรรมที่แสดงออกทางร่างกายในลักษณะที่ดีงามอันเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของสังคม จริยธรรม จะมีได้ต้องปลูกฝึกหัดโดยเริ่มจากการปลูกฝังคุณธรรม

          พระธรรมญาณมุนี  ( 2531 :103  ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า  จริยธรรม  หมายถึง   พฤติกรรมที่เป็นรูปแบบของการปฏิบัติตน  การดำเนินตนที่มีความเหมาะสมแก่ภาวะฐานะ  กาลเทศะ  และเหตุการณ์ในปัจจุบัน

          จากความหมายดังกล่าวมาพอสรุปได้ว่า จริยธรรม หมายถึง  พฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ควรปฏิบัติที่ดีงามเหมาะสม  และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับของสังคมเพื่อความสันติสุขแห่งตนเอง และความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม 

          กล่าวโดยย่อ คุณธรรม  หมายถึง คุณสมบัติภายในใจใดๆ ก็ตามที่เป็นคุณสมบัติไม่เป็นโทษ ส่วน จริยธรรม  หมายถึง  สิ่งควรประพฤติอัน ได้แก่  พฤติกรรมเป็นการกระทำ ทางกาย วาจา  ใจ  อันดีงามที่ควรปฏิบัติ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คุณธรรม และจริยธรรม  หมายถึง  คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม

 ความหมายของคุณธรรม

          พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน ( 2530  : 190 )  ได้ให้ความหมายของ คุณธรรมว่า คุณธรรม  หมายถึง  สภาพคุณงามความดีหรือหน้าที่อันพึงมีอยู่ในตัว

          ลิขิต  ธีรเวคิน ( 2548 ) ได้กล่าวไว้ว่า  คุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ศาสนาและอุดมการณ์  เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วย  ปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ สังคมต้องมีจิตวิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลาเรียนรู้โดยพ่อแม่  สถาบันการศึกษา  ศาสนา  พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ

          รองศาสตราจารย์  ดร. ทิศนา  แขมมณี  ( 2546  : 4 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะหรือสภาวะภายในจิตใจของมนุษย์ที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ซึ่งเป็นภาวะนามธรรมอยู่ในจิตใจ

          สัญญา สัญญาวิวัฒน์  ( 2527  :  387 )  ได้ให้ความหมายว่า คุณธรรม หมายถึง ความดี ความงาม ความซื่อสัตย์ ความพอดี ความอดทน ขยันหมั่นเพียร